การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์
KP Model 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์
KP Model 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ KP Model ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี โดยจัดทำรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ KP
Modelและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแล้วเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 ในรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 1 และโครงงานวิทยาศาสตร์
2 ระหว่างปีการศึกษา 2556-2558 รวมทั้งบันทึกหลังสอน
คะแนนระหว่างเรียน คะแนนหลังเรียน สรุปจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา
เพื่อนำข้อมูลไปใช้พัฒนารูปแบบ KP Model ให้เหมาะสมต่อบริบทของโรงเรียน
จากการศึกษามีข้อค้นพบดังนี้
พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ ของครูเอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง และการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ของครูกฤติยา ปิยะแสงทอง รวมทั้งแจกเอกสารต่าง ๆ และแผนการสอนที่เขียนขึ้นเองเพื่อให้ครูและนักเรียนนำไปใช้ต่อไป
วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560
Sci005 บทคัดย่องานวิจัยครูเอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง
เอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง 2559: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ KP
Model สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี 437 หน้า
1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ KP Model ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งสิ้น 10
ขั้นตอน ได้แก่ Know to Think (ขั้นความคิดสร้างสรรค์) Know
to Note (ขั้น Log Book) Know Problem (ขั้นเสนอหัวเรื่อง) Know to Solve (ขั้นออกแบบการทดลอง) Know to Refer (ขั้นลิขสิทธิ์และการอ้างอิง) Practice to Exchange (ขั้นแบ่งปันประสบการณ์) Practice to Present (ขั้นเสนอโครงร่าง) Practice to Apprentice (ขั้นฝึกงาน) Practice to Do (ขั้นทำการทดลอง) Practice to Share (ขั้นรายงานผลและเผยแพร่) 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพ เปรียบเทียบ E1 และ E2 ของนวัตกรรม เรื่อง รูปแบบ
KP Model สำหรับจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี มีคุณภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 มีผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
คือ ร้อยละ 80 และคะแนนเจตคติหลังเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเรียน
เมื่อทดสอบความคงทนของเจตคติด้วยการวัดซ้ำ พบว่า
นักเรียนมีค่าคะแนนเจตคติใกล้เคียงกับหลังสิ้นสุดการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็นกับบทความ