ฟังก์ชันเพิ่ม
ฟังก์ชันลด
ฟังก์ชันใด ๆ
จะเป็นฟังก์ชันเพิ่มหรือฟังก์ชันลด จะต้องมีลักษณะดังทฤษฎีบท ต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ f(x) = 2x3
– 3x2 – 12x + 4 จงตรวจสอบว่า f เป็นฟังก์ชันลดบนช่วงใด
และ f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วงใด
วิธีทำ จาก f(x) = 2x3
– 3x2 – 12x + 4
เนื่องจาก f เป็นฟังก์ชันพหุนาม
ดังนั้น f มีความต่อเนื่องทุกค่าของ x ที่เป็นจำนวนจริง
จะได้ f/(x) = 6x2
– 6x – 12
เนื่องจากค่า x ที่ทำให้
f เป็นฟังก์ชันลดคือค่า x ที่ทำให้ f/(x)
เป็นจำนวนลบ
นั่นคือ f/(x) < 0
6x2
– 6x – 12 < 0
x2
– x – 2 < 0
(x +
1)(x – 2) < 0
จากกราฟ ช่วงที่
f/(x) < 0 คือ ( - 1, 2)
และ ช่วงที่ f/(x) >
0 คือ ( -¥, -1) และ ( 2, ¥)
ดังนั้น f
เป็นฟังก์ชันลดบนช่วง ( - 1, 2) f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วง ( -¥, -1) และ ( 2, ¥)
ค่าสูงสุดสัมพัทธ์
ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์
ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน
มีนิยามดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ f(x) = 2x3
– 3x2 – 12x + 4 จงหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์
ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ จุดต่ำสุดสัมพัทธ์และจุดสูงสุดสัมพัทธ์
วิธีทำ จาก
f(x) = 2x3
– 3x2 – 12x + 4
จะได้ f/(x) = 6x2
– 6x – 12
ให้ 6x2
– 6x – 12 = 0
6(x + 2)(x – 1)
= 0
เมื่อ f/(x)
= 0 จะได้ x
= - 2 หรือ x = 1
ค่าวิกฤตของฟังก์ชัน
f มี 2 ค่า คือ –2 และ 1
ถ้าพิจารณาค่าของ f/(x)
เมื่อ x เป็นค่าวิกฤตและจำนวนจริงในช่วงต่าง ๆ
จะได้ตาราง ดังนี้
จากตาราง จะได้ว่าฟังก์ชัน
f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์เท่ากับ f(–2) = 13 และมีค่าต่ำสุดสัมพัทธ์เท่ากับ
f(1) = –14
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้อนุพันธ์อันดับที่
2 มาช่วยในการพิจารณาว่าค่าวิกฤตนั้น ๆ
ฟังก์ชันมีค่าสูงสุดสัมพัทธ์หรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ โดยอาศัยทฤษฎีบทต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 3 กำหนดให้ f(x) = x3
+ 3x2 – 24x – 20 จงหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์ ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์
จุดต่ำสุดสัมพัทธ์และจุดสูงสุดสัมพัทธ์
วิธีทำ จาก f(x) = x3
+ 3x2 – 24x – 20
จะได้
f/(x) = 3x2
+ 6x – 24
ให้ 3x2 + 6x – 24 = 0
3(x + 4)(x – 2) = 0
เมื่อ f/(x)
= 0 จะได้ x
= –4 หรือ x
= 2
ค่าวิกฤตของฟังก์ชัน
f มี 2 ค่า คือ –4 และ 2
ต่อไปหาอนุพันธ์อันดับที่
2 ของฟังก์ชัน
f//(x) = 6x + 6
f//(–4) =
–18 <
0
f//(2) =
18 > 0
ดังนั้น
f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ x
= –
4 และมีค่าสูงสุดสัมพัทธ์เท่ากับ
f(-4) = 60
และ f มีค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ที่ x = 2 และมีค่าสูงสุดสัมพัทธ์เท่ากับ f(2) = –
48
ค่าสูงสุดสัมบูรณ์
ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์
ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน
มีนิยามดังนี้
ขั้นตอนของการหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์
ถ้าฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วงปิด
[a, b] แล้ว
สามารถหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f ตามขั้นตอน ดังนี้
1.
หาค่าวิกฤตทั้งหมดในช่วงปิด [a, b]
2.
หาค่าของฟังก์ชัน ณ ค่าวิกฤตที่ได้จากข้อ 1.
3.
หาค่า f(a)
และ f(b)
4.
เปรียบเทียบค่าที่ได้จากข้อ 2 และข้อ 3 ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปว่า
ค่ามากที่สุดจากข้อ
2 และข้อ 3 เป็นค่าสูงสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f
ค่าน้อยที่สุดจากข้อ
2 และข้อ 3 เป็นค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f
ตัวอย่างที่ 4 กำหนดให้ f(x) = x3
– 3x + 2 จงหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน
f
บนช่วงปิด
[0, 2]
วิธีทำ จาก
f(x) = x3
– 3x + 2
จะได้
f/(x) = 3x2
–
3
ให้ 3(x2 –
1) = 0
3(x – 1)(x + 1) = 0
เมื่อ f/(c)
= 0 จะได้ x
= –1 หรือ x
= 1 แต่ –1 Ï
[0, 2]
ดังนั้น ค่าวิกฤตของฟังก์ชัน
f ในช่วงปิด [0, 2] คือ 1
ต่อไปคำนวณหา f(0),
f(1) และ f(2) จะได้
f(0) = 2
f(1) = 0
f(2) = 4
สรุปได้ว่า f มีค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่ x = 2 ซึ่งมีค่า f(2)
= 4
f มีค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ x = 1 ซึ่งมีค่า f(1)
= 0
โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุด
ในการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุด
จะต้องพิจารณาเงื่อนไขของฟังก์ชันที่กำหนดให้ว่ามีโดเมนเป็นอย่างไร
และปัญหาต้องการให้หาค่าสูงสุดสัมพัทธ์ ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ ค่าสูงสุดสัมบูรณ์
หรือค่าต่ำสุดสัมบูรณ์
หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปในการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุด
1.
ทำความเข้าใจกับปัญหาอย่างละเอียดให้ทราบว่าต้องการหาค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุดของอะไร
ให้กำหนดสิ่งนั้นด้วยตัวแปร y
และกำหนดตัวแปร x แทนสิ่งที่กำหนดค่าของ y
เมื่อ f เป็นฟังก์ชัน
2.
เขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ของ y และ x ให้อยู่ในรูป
y = f(x)
3.
หาอนุพันธ์ของ y
4.
หาค่าวิกฤตของฟังก์ชันในข้อ 2
5.
นำค่าวิกฤตในข้อ 4 มาทำการตรวจสอบว่าทำให้ y มีค่าสูงสุดหรือต่ำสุดหรือไม่
ตัวอย่างที่ 5 ต้องการนำลวดหนามที่มีความยาว 1,000
เมตร มากั้นพื้นที่ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยที่มีด้าน
หนึ่งอยู่ติดริมรั้วบ้านซึ่งไม่ต้องขึงลวดหนาม
จงหาขนาดของรูปสี่เหลี่ยมดังกล่าวที่ทำให้ได้พื้นที่
มากที่สุด
วิธีทำ ให้ y เป็นพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
x เป็นความกว้างของรูปสี่เหลี่ยมนี้
จากโจทย์ จะได้ว่า
ดังนั้น
ความยาวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คือ 1000 – 2x เมตร
ดังนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่าง y และ x เป็นดังนี้
y = x
(1000 – x) เมื่อ 0 £
x £
500
ดังนั้น y =
1000x – x2
y /
= 1000 – 4x
ถ้า y / = 0 จะได้ 1000 – 4x =
0 หรือ x = 250
ดังนั้น ค่าวิกฤต คือ 250
จาก y / = 1000 – 4x
จะได้ y // = – 4 < 0
แสดงว่า ถ้า x = 250 แล้วจะให้ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ซึ่งเท่ากับ
250(1000 – 250) = 125,000 ตารางเมตร
ดังนั้น
ต้องกั้นพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความกว้าง 250
เมตร และยาว 500 เมตร
จึงจะทำให้มีพื้นที่มากที่สุด
แบบฝึกหัดชุดที่ 7 จ้า คลิกตรงนี้
แบบฝึกหัดชุดที่ 7 จ้า คลิกตรงนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็นกับบทความ