วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

R001 ที่ปรึกษากับงานวิจัยของคุณครู

ที่ปรึกษา กับ การวิจัยของคุณครู


วันนี้ได้ไปประชุมกรรมการคณะหนึ่ง ที่ประชุมมีข้อคิดเห็นที่น่าสนใจมาถกเถียงกันว่า "ครูควรมีที่ปรึกษา (เหมือน Advisor ในการเรียนระดับบัณฑิตศึกษา) ในการทำงานวิจัยหรือไม่


"ครูหลายคนอยากทำงานวิจัย แต่อาจขาดภูมิรู้ จึงทำเหมือนมวยวัด ดังนั้น การมีที่ปรึกษาจะทำให้ครูนักวิจัยได้งานที่มีคุณภาพ เพราะที่ปรึกษาจะเป็นผู้ช่วยเหลือในการกลั่นกรอง ตรวจสอบความถูกต้อง" ท่านหนึ่งกล่าว


ผู้เขียนฟังแล้วก็นั่งพยักหน้าเห็นด้วย


"การวิจัยเป็นการหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผล หากครูคิดพึ่งพาแต่ที่ปรึกษา จะไม่สามารถสร้างครูนักวิจัยที่สามารถวิจัยด้วยตนเองได้ ไม่ต่างกับการติวหรือเรียนพิเศษเพื่อให้ทำได้" อีกท่านหนึ่งกล่าว


ผู้เขียนฟังแล้วก็นั่งพยักหน้าเห็นด้วยเช่นกัน


หลังจากประชุมเสร็จ ผู้เขียนก็นำประเด็นนี้มาขบคิดระหว่างรอรถประจำทางกลับบ้าน จนมีความคิดส่วนตัวประการหนึ่ง


ผู้เขียนคิดว่าการวิจัยเหมือนมีด ที่ใช้ปอกเปลือกสิ่งต่าง ให้ค้นพบความจริงของสิ่งนั้น 


กว่าจะได้ออกมาเป็นมีด ต้องผ่านการคัดสรร การหลอม การตี ขึ้นรูป ตลอดจนชุบเคลือบต่าง มากมาย แน่นอน มีดจะมีคุณภาพดีเพียงใดย่อมขึ้นกับคุณภาพของขั้นตอนเหล่านี้ เหมือนที่ปรึกษาที่คอยฝึกฝนและสั่งสอนเรามา


มีดแต่ละเล่ม ก็เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน เหมือนเอาปังตอไปแกะสลักแทนมีดคว้านคงเป็นไปไม่ได้ ครูนักวิจัย และนักอยากวิจัยหลาย คน ก็เช่นกัน ที่มีความถนัดและเชี่ยวชาญจำเพาะเจาะจงในบางเรื่อง ย่อมต้องการที่ปรึกษาซึ่งเปรียบเสมือนมีดต่างชนิด ที่จะช่วยทำให้ความจริงชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเมื่อใช้งานจนมีดทื่อ อาจต้องพึ่งพาที่ปรึกษาเป็นผู้กระตุกความคิดจากมุมมองของบุคคลภายนอก (คล้าย หินลับมีด


ดังนั้น ความคิดระหว่างรอรถประจำทางของผู้เขียนจึงเห็นว่า ครูนักวิจัย เป็นผู้ค้นหาความจริงเพื่อพัฒนานักเรียนด้วยตนเอง โดยพึ่งพาที่ปรึกษาเพียงการตรวจสอบแนวคิด รวมถึงเรื่องอื่น  บ้าง แต่ที่ปรึกษาไม่ใช่ตัวจริงในการทำวิจัย ครู ต้องเป็นนักวิจัยตัวจริง


ครูแต่ละคนอาจมีขีดจำกัดของการพึ่งพาแตกต่างกัน แต่สิ่งที่จะช่วยให้ครูพัฒนาทักษะการวิจัยของตนได้ คือการพึ่งพาให้น้อยลง และเรียนรู้จากสิ่งที่ผ่านมา ทั้งจุดเด่นและจุดด้อย 


ซึ่งผู้ที่ทำวิจัยจะมองเห็นเองว่าตนเองพัฒนาขึ้นอย่างไร 


ผู้เขียนเองมักมีความรู้สึกเมื่อได้อ่านงานตัวเองซ้ำ ว่าตอนทำก็คิดว่าดีที่สุดแล้ว แต่ตอนที่อ่าน และได้แลกเปลี่ยนกับหลาย ท่าน ทั้งเวลาทำงาน และการสนทนาส่วนตัวกลับพบวิธีที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น 


นี่ไม่ใช่ที่ปรึกษาแบบครูสอนศิษย์อีกต่อไป แต่เป็นที่ปรึกษาผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงวิชาการ


ผู้เขียนคิดว่า นี่คือการเรียนรู้


และการเรียนรู้ ไม่มีวันสิ้นสุด 


วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

Sci007 Jellyfish : Life Cycle

เมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ครูเอก และครอบครัว ได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล (สวทล.) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ทั้งความรู้และได้ระลึกความหลังในสมัยเด็ก ๆ ที่ไปบ่อย ๆ ด้วย ตอนนี้สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีนิทรรศการน่าสนใจมาก เรื่อง แมงกะพรุน ซึ่งครูเอกคิดว่า ถ้านักเรียนคนไหนที่เรียนเรื่องความหลากหลาย แล้วมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวงจรชีวิตแบบสลับน่าที่จะสนใจนิทรรศการนี้แน่ ๆ

มาทบทวนกันหน่วยนะครับ แมงกะพรุน หรือกะพรุน (Jellyfish หรือ Jelly) เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในอาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) อยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) ครับ ซึ่งจุดเด่นของสัตว์ในไฟลัมนี้คือ เข็มพิษ (Nematocyst) ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินว่ามีคนโดนแมงกะพรุนในขณะเล่นน้ำ ซึ่งอาการก็แตกต่างกันไปตามพิษที่ได้รับครับ

ครูเอกสงสัยเหมือนกันว่าแมงกะพรุนที่ว่ายน้ำตามที่เห็น มันว่ายเร็วจนมาโดนพวกเราหรือไม่



คำตอบคือไม่ครับ แต่เราว่ายไปหามันเอง  เพราะส่วนที่เข็มพิษอยู่คือหนวด (Tentacle) ซึ่งยาวมาก ๆ เลยครับ แถมยังค่อนข้างใส ดูจากรูปสิครับ ยาวกว่าตัวมันอีกแถมยังบางมาก ๆ ไม่แปบกเลยที่หลายคนคิดว่าหลบพ้น แต่ก็ยังโดนจนเกิดรอยผื่นแดงเต็มไปหมด

ภาพ หนวดแมงกะพรุน (สีที่เห็นมาจากไฟในตู้ที่เปิดไว้) 

แต่ที่ครูเอกตื่นเต้นคงเป็นวงจรชีวิตแบบสลับของแมงกะพรุนครับ ทุก ๆ ปีตอนสอนเรื่องนี้ทั้งในค่ายโอลิมปิกวิชาการ และในโรงเรียน ครูได้แต่หารูปจากที่ต่าง ๆ มาให้ดู แต่ตอนนี้ ครูเอกมีภาพถ่ายของตัวเองซึ่งได้จากที่นี่ละครับ

จากแผนภาพด้านล่าง เป็นภาพสรุปวงจรชีวิตแมงกะพรุนครับ ซึ่งเริ่มจากตัวเต็มวัยจะสร้างไข่และสเปิร์มมาผสมกันเป็นไซโกต แล้วเจริญเป็นตัวอ่อน planular ซึ่งจะลอยตามน้ำไปจนกระทั่งพบที่ยึดเกาะ ตัวอ่อนนี้จะยึดไว้ แล้วเปลี่ยนรูปร่างเป็นทรงกระบอก ซึ่งเรียกว่า scyphistoma หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็น strobili ซึ่งจะมีส่วนปลายสร้างโครงสร้างคล้ายชามซ้อน ๆ กัน ซึ่งส่วนปลายนี่ละครับที่จะหลุดออกมาเป็นตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ephyra แล้วจะโตเป็นแมงกะพรุนตัวเต็มวัยต่อไป ซึ่งแมงกะพรุที่เราเห็นที่ชายฝั่งมักเป็นแมงกะพรุนที่อายุมากแล้ว ซัก 5-10 ปีครับ แต่ก่อนหน้านั้นพวกมันจะอาศัยในทะเลลึก จนกระทั้งถึงเวลาของมัน

ภาพ วงจรชีวิตของแมงกะพรุน
ที่มา nstda.or.th/rural/public/100%20articles-stkc/100.pdf

ลองมาดูภาพที่ถ่ายมาได้เปรียบเทียบกันนะครับ




ภาพ scyphistoma (ตัวขาว ๆ เล็ก ๆ มีหนวดเยอะ ๆ ครับ)


ภาพ ephyra (เทียบกับนิ้วชี้ครูเอก)


ภาพ ตัวอ่อนแมงกะพรุน (juvenile)

ขอขอบคุณสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล (สวทล.) ที่มอบความรู้ให้กับพวกเราแม้ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ครับ และนักเรียนหรือคุณครูท่านใดสนใจ ไปดูได้เลยนะครับ ยิ่งช่วงนี้ปิดเทอม โอกาสในการไปยิ่งมาก ข้างในมีสิ่งที่น่าสนใจอีกเยอะเลย

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

Math009 บทประยุกต์ของอนุพันธ์

ฟังก์ชันเพิ่ม ฟังก์ชันลด
     
            ฟังก์ชันใด ๆ จะเป็นฟังก์ชันเพิ่มหรือฟังก์ชันลด จะต้องมีลักษณะดังทฤษฎีบท ต่อไปนี้  


ตัวอย่างที่ 1   กำหนดให้ f(x) = 2x3 – 3x2 – 12x + 4 จงตรวจสอบว่า f เป็นฟังก์ชันลดบนช่วงใด และ f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วงใด

วิธีทำ      จาก         f(x)   =  2x3 – 3x2 – 12x + 4
            เนื่องจาก f เป็นฟังก์ชันพหุนาม
            ดังนั้น f มีความต่อเนื่องทุกค่าของ x ที่เป็นจำนวนจริง
            จะได้       f/(x)  =  6x2 – 6x – 12 

            เนื่องจากค่า x ที่ทำให้ f เป็นฟังก์ชันลดคือค่า x ที่ทำให้ f/(x) เป็นจำนวนลบ
            นั่นคือ            f/(x)   <  0
                      6x2 – 6x – 12  <  0
                           x2 – x – 2  <  0
                       (x + 1)(x – 2)  <  0


                   จากกราฟ ช่วงที่ f/(x) < 0 คือ ( - 1, 2) และ ช่วงที่ f/(x) > 0 คือ ( -¥, -1) และ ( 2, ¥)
                   ดังนั้น f เป็นฟังก์ชันลดบนช่วง ( - 1, 2) f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วง ( -¥, -1) และ ( 2, ¥)

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์
     
      ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน มีนิยามดังนี้ 


ตัวอย่างที่ 2   กำหนดให้ f(x) = 2x3 – 3x2 – 12x + 4 จงหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์ ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ จุดต่ำสุดสัมพัทธ์และจุดสูงสุดสัมพัทธ์

วิธีทำ           จาก           f(x)   =  2x3 – 3x2 – 12x + 4
                   จะได้          f/(x)  =  6x2 – 6x – 12 

                   ให้       6x2 – 6x – 12  =  0
                             6(x + 2)(x – 1) =  0
                   เมื่อ f/(x) = 0  จะได้     x  = - 2 หรือ x = 1

                   ค่าวิกฤตของฟังก์ชัน f มี 2 ค่า คือ –2 และ 1

          ถ้าพิจารณาค่าของ f/(x) เมื่อ x เป็นค่าวิกฤตและจำนวนจริงในช่วงต่าง ๆ จะได้ตาราง ดังนี้



        จากตาราง จะได้ว่าฟังก์ชัน f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์เท่ากับ f(–2) = 13 และมีค่าต่ำสุดสัมพัทธ์เท่ากับ     f(1) = –14

         นอกจากนี้เรายังสามารถใช้อนุพันธ์อันดับที่ 2 มาช่วยในการพิจารณาว่าค่าวิกฤตนั้น ๆ ฟังก์ชันมีค่าสูงสุดสัมพัทธ์หรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ โดยอาศัยทฤษฎีบทต่อไปนี้


ตัวอย่างที่ 3   กำหนดให้ f(x) = x3 + 3x2 – 24x – 20  จงหาค่าสูงสุดสัมพัทธ์ ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ จุดต่ำสุดสัมพัทธ์และจุดสูงสุดสัมพัทธ์

วิธีทำ            จาก          f(x)   =  x3 + 3x2 – 24x – 20 
                  จะได้         f/(x)  =  3x2 + 6x – 24 
                   ให้           3x2 + 6x – 24  =  0
                                 3(x + 4)(x – 2) =  0
                   เมื่อ f/(x) = 0  จะได้  x  = –4  หรือ x = 2

                   ค่าวิกฤตของฟังก์ชัน f มี 2 ค่า คือ –4 และ 2

                   ต่อไปหาอนุพันธ์อันดับที่ 2 ของฟังก์ชัน
                             f//(x)    =  6x + 6
                             f//(–4)  =  –18  < 0
                             f//(2)    =  18  >  0
          ดังนั้น  f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ x = – 4 และมีค่าสูงสุดสัมพัทธ์เท่ากับ f(-4) = 60
          และ f มีค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ที่ x = 2 และมีค่าสูงสุดสัมพัทธ์เท่ากับ f(2) = – 48

ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์
     
      ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน มีนิยามดังนี้


ขั้นตอนของการหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์

          ถ้าฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วงปิด [a, b] แล้ว สามารถหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f ตามขั้นตอน ดังนี้
1.       หาค่าวิกฤตทั้งหมดในช่วงปิด [a, b]
2.       หาค่าของฟังก์ชัน ณ ค่าวิกฤตที่ได้จากข้อ 1.
3.       หาค่า f(a) และ f(b)
4.       เปรียบเทียบค่าที่ได้จากข้อ 2 และข้อ 3 ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปว่า
ค่ามากที่สุดจากข้อ 2 และข้อ 3 เป็นค่าสูงสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f
ค่าน้อยที่สุดจากข้อ 2 และข้อ 3 เป็นค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f

ตัวอย่างที่ 4   กำหนดให้ f(x) = x3 – 3x + 2  จงหาค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f
                 บนช่วงปิด [0, 2]
วิธีทำ           จาก           f(x)   =  x3 – 3x + 2 
                     จะได้          f/(x)  =  3x2 3
                  ให้            3(x2 1) =  0
                                 3(x – 1)(x + 1) =  0
                   เมื่อ f/(c) = 0  จะได้  x  = –1  หรือ x = 1 แต่  –1 Ï [0, 2]
                   ดังนั้น ค่าวิกฤตของฟังก์ชัน f ในช่วงปิด [0, 2] คือ 1

                   ต่อไปคำนวณหา f(0), f(1) และ f(2) จะได้
                             f(0)  =  2
                             f(1)  =  0
                             f(2)  =  4
          สรุปได้ว่า f มีค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่ x = 2 ซึ่งมีค่า f(2)  =  4
          f มีค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ x = 1 ซึ่งมีค่า f(1)  =  0

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุด

         ในการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุด จะต้องพิจารณาเงื่อนไขของฟังก์ชันที่กำหนดให้ว่ามีโดเมนเป็นอย่างไร และปัญหาต้องการให้หาค่าสูงสุดสัมพัทธ์ ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ หรือค่าต่ำสุดสัมบูรณ์

หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปในการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุด
1.       ทำความเข้าใจกับปัญหาอย่างละเอียดให้ทราบว่าต้องการหาค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุดของอะไร ให้กำหนดสิ่งนั้นด้วยตัวแปร y และกำหนดตัวแปร x แทนสิ่งที่กำหนดค่าของ y เมื่อ f เป็นฟังก์ชัน
2.       เขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ของ y และ x ให้อยู่ในรูป y = f(x)
3.       หาอนุพันธ์ของ y
4.       หาค่าวิกฤตของฟังก์ชันในข้อ 2
5.       นำค่าวิกฤตในข้อ 4 มาทำการตรวจสอบว่าทำให้ y มีค่าสูงสุดหรือต่ำสุดหรือไม่

ตัวอย่างที่ 5   ต้องการนำลวดหนามที่มีความยาว 1,000 เมตร มากั้นพื้นที่ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยที่มีด้าน  
                  หนึ่งอยู่ติดริมรั้วบ้านซึ่งไม่ต้องขึงลวดหนาม จงหาขนาดของรูปสี่เหลี่ยมดังกล่าวที่ทำให้ได้พื้นที่
                  มากที่สุด
วิธีทำ           ให้ y เป็นพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า x เป็นความกว้างของรูปสี่เหลี่ยมนี้

                 จากโจทย์ จะได้ว่า
   

                ดังนั้น ความยาวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คือ 1000 – 2x เมตร

          ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่าง y และ x เป็นดังนี้
                             y  =  x (1000 – x)      เมื่อ 0 £ x £ 500
          ดังนั้น             y  =  1000x – x2
                             y / =  1000 – 4x
          ถ้า  y / = 0  จะได้  1000 – 4x = 0  หรือ  x = 250

          ดังนั้น  ค่าวิกฤต คือ 250
          จาก               y / =  1000 – 4x
          จะได้             y // = – 4  < 0

          แสดงว่า  ถ้า x = 250 แล้วจะให้ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ซึ่งเท่ากับ

                     250(1000 – 250) = 125,000 ตารางเมตร


          ดังนั้น  ต้องกั้นพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความกว้าง 250 เมตร และยาว 500 เมตร จึงจะทำให้มีพื้นที่มากที่สุด

แบบฝึกหัดชุดที่ 7 จ้า คลิกตรงนี้

Math008 อนุพันธ์อันดับสูง

อนุพันธ์อันดับสูง

บทนิยาม        ให้ f เป็นฟังก์ชันที่สามารถหาอนุพันธ์ได้ และ f/(x) เป็นอนุพันธ์ของ
                   ฟังก์ชัน f ที่ซึ่งสามารถหาอนุพันธ์ได้แล้ว จะเรียกอนุพันธ์ของอนุพันธ์
                   ของฟังก์ชัน f ที่ x หรืออนุพันธ์ของฟังก์ชัน  f/  ที่ x ว่าอนุพันธ์อันดับที่
                   ของ f ที่ และเขียนแทนอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f/(x)  ที่ x ด้วย  f//(x)

เนื้อหา   เราสามารถกล่าวได้ว่า อนุพันธ์อันดับที่ ของ f(x) ว่าเป็นอนุพันธ์ของอนุพันธ์อันดับที่ 2  
       อนุพันธ์อันดับที่ ของ f(x)  ว่าเป็นอนุพันธ์ของอนุพันธ์อันดับที่
       อนุพันธ์อันดับที่ ของ f(x)  ว่าเป็นอนุพันธ์ของอนุพันธ์อันดับที่ n – 1

เขียน สัญลักษณ์ดังนี้





แบบฝึกหัดทบทวน  คลิกตรงนี้จ้า

Math007 ความชันของเส้นโค้ง

ความชันของเส้นโค้ง


            การหาความชันของเส้นโค้งและความชันของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง  สามารถหาได้จากนิยามต่อไปนี้





แบบฝึกหัดทบทวน คลิกตรงนี้เลยจ้า